อยากประสบความสำเร็จต้องเริ่มต้นพัฒนาตนเองด้วย Growth Mindset

Last updated: 29 Feb 2024  |  336 Views  | 

อยากประสบความสำเร็จต้องเริ่มต้นพัฒนาตนเองด้วย Growth Mindset

Growth Mindset คือ คำที่เรามักจะได้ยินและเห็นอยู่บ่อยครั้งในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นตามรายการทีวีหรือเว็บไซต์ต่างๆ รวมไปถึงประกาศรับสมัครงาน บทความใน Facebook วีดีโอสร้างแรงบันดาลใจใน Tiktok ก็มักจะมีการพูดถึงคนที่ “มี Growth Mindset” ด้วยเช่นกัน นั่นแสดงให้เห็นว่า การใช้ชีวิตให้ประสบความสำเร็จในปัจจุบันนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องพัฒนาการมีความคิดแบบเติบโต หรือ Growth Mindset รวมไปถึงการที่องค์กรต่างๆ นั้นมีความต้องการให้คนที่มี Soft Skills ที่หลากหลายมาเป็นส่วนหนึ่งในองค์กร รวมไปถึงบุคลากรที่มี Growth Mindset แล้วเพราะอะไรกันล่ะถึงทำให้วิธีคิดในลักษณะนี้กลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญสำหรับสังคมการทำงาน มาร่วมหาคำตอบไปพร้อมๆ กันกับ Plusitives ในบทความนี้ได้เลย

Growth Mindset คืออะไร
คำว่า Growth Mindset นั้น ถูกพูดถึงครั้งแรกโดย Carol S. Dweck นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน โดยเธอได้ให้คำนิยามไว้ว่า “บุคคลที่มีแนวความคิดว่าความสามารถและทักษะของตนเองนั้น สามารถพัฒนาได้ผ่านการทำงานหนักหรือได้รับการแนะนำจากบุคคลอื่น” ซึ่งผลงานวิจัยของเธอที่มีการศึกษาในเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง ได้มีการค้นพบว่า คนที่มีความคิดแบบ Growth Mindset นี้ จะมีโอกาสประสบความสำเร็จในชีวิตมากกว่าคนที่มี Fixed Mindset  หรือ แนวคิดแบบตายตัว (บุคคลที่มีแนวความคิดว่าความสามารถและไม่สามารถพัฒนาได้) เพราะบุคคลที่มีความคิดแบบเติบโต พวกเขาจะมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และมองโลกด้วยความคิดเชิงบวก ส่งผลให้ทุกคนที่มีความคิดแบบนี้รู้สึกมีพลังและความมุ่งมั่นในการทำงานที่มากขึ้น สามารถรับมือกับความท้าทายในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุค Digital Transformation นี่จึงเป็นเหตุผลหลักที่หลายคนเริ่มหันมาให้ความสนใจและเริ่ม พัฒนาตนเองให้มี Growth Mindset ตั้งแต่พนักงานไปจนถึงระดับผู้บริหาร เพื่อหวังว่าเราทุกคนจะสามารถพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้ในที่สุด

ข้อดีของการมี Growth Mindset มีอะไรบ้าง
1). มองโลกในแง่บวก
Growth Mindset คือ สิ่งที่จะช่วยให้คุณเริ่มมองโลกในแง่บวกมากขึ้น เพิ่มความสุขให้กับการใช้ชีวิต ดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจ นอกจากนั้น Mindset หรือแนวคิดแบบนี้ ยังทำให้สมองมีการหลั่งฮอร์โมน Cortisol (ฮอร์โมนแห่งความเครียด) ลดลง และหลั่งฮอร์โมน Serotonin ซึ่งเป็นหนึ่งในฮอร์โมนแห่งความสุขออกมามากขึ้น ซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกสงบ มีสมาธิ อารมณ์คงที่ และมีความกังวลน้อยลง ข้อมูลนี้อ้างอิงมาจากบทความของ Lou Whitaker ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านการศึกษาจากประเทศสหรัฐอเมริกา

2). ปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงได้ดี
จากบทความของ Northwestern Medicine และ Forbes การมี Growth Mindset จะช่วยให้คุณนั้นกล้าที่จะเผชิญหน้ากับสิ่งใหม่ๆ โดยเฉพาะในโลกการทำงานปัจจุบันที่มีความผันผวนไม่แน่นอน ในทางตรงกันข้าม หากคุณเป็นคนที่มี Fixed Mindsetคุณจะเริ่มรู้สึกกลัวกับอนาคตและอาจเกิดเป็นความเครียดสะสม ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของสมองในส่วนของ Amygdala ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับความกลัว และส่วนCerebral Cortex ทำให้ความสามารถในการคิดและตัดสินใจ และความคิดสร้างสรรค์ลดลง หากปล่อยทิ้งไว้ก็จะอาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตตามมาอีกด้วย 

3).พร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่ตลอด
คำกล่าวที่ว่า “Learning is a lifelong process.” หรือ การเรียนรู้คือกระบวนการที่เกิดขึ้นตลอดชีวิต จาก Peter Drucker ใช้อธิบายได้เป็นอย่างดี เพราะคนที่มี Growth Mindset คือ คนที่พร้อมเรียนรู้สิ่งต่างๆ อยู่ตลอดเวลา ไม่ปิดกั้นตนเองเวลาเจอเรื่องที่ไม่เข้าใจ และจะพยายามหาวิธีพัฒนาตนเองอยู่เสมอ จาก
บทความเรื่องThe Growth Mindset Starts in the Brain ของ Margie Meacham 

พฤติกรรมที่คนเรามีการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอแบบนี้จะส่งผลให้สมองเกิดการเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาทในรูปแบบใหม่ที่แตกต่างจากเดิมอยู่ตลอดเวลา แทนที่จะมีการเชื่อมต่อเซลล์ประสาทในรูปแบบเดิมซ้ำๆ จึงทำให้คนที่มีวิธีคิดแบบเติบโต หรือ Growth Mindsetนั้นสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้เร็วกว่าปกตินั่นเอง

4). เพิ่ม Self-Esteem
Self-Esteem คือกุญแจสำคัญที่จะพาทุกคนไปสู่ความสำเร็จ โดยมีการศึกษาที่พบว่านักเรียนที่มีความคิดแบบ Growth Mindsetจะมีความเชื่อมั่นและเห็นคุณค่าในตนเองสูง เพราะไม่ได้ยึดติดกับความสำเร็จและความผิดพลาด สิ่งที่พวกเขาใส่ใจคือความพยายามและความทุ่มเทระหว่างนั้นมากกว่า ส่งผลให้พวกเขามีความมุ่งมั่นและสามารถดึงศักยภาพของตนเองออกมาได้ในที่สุด

5). มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
อีกหนึ่งประโยชน์ที่ไม่พูดถึงไม่ได้เลยก็คือการมี วิธีคิดแบบเติบโต จะช่วยให้เราพัฒนา Soft Skill โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Social Skill หรือทักษะทางสังคมนั่นเอง ซึ่งการมีแนวความคิดแบบ Growth Mindset ส่งผลให้คุณมีความพร้อมที่จะทำความรู้จักกับเพื่อนใหม่ รวมถึงให้ความร่วมมือ และทำงานเป็นทีม โดยไม่มีอคติมาบดบัง ยอมรับในความแตกต่าง และเคารพในตัวตนของคนอื่นๆ อยู่เสมอ อ้างอิงจาก บทความของ Stephanie Pappas ที่มีการระบุว่า Growth Mindset คือ สิ่งที่ทำให้สมองส่วน Amygdala มีการทำงานน้อยลง และกระตุ้นให้สมองส่วน Prefrontal Cortex ทำงานมากขึ้นเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ดังนั้น คุณจึงมีความเข้าใจในสถานการณ์ต่างๆ และสามารถใช้ทักษะทางสังคมได้อย่างเหมาะสม รู้ว่าต้องพูดและทำตัวอย่างไรจึงจะเหมาะสม ถูกต้องตามกาละเทศะ  

Growth Mindset สำคัญอย่างไรในการทำงาน
ก่อนหน้านี้เราได้พูดถึงข้อดีกันไปบ้างแล้ว แต่บางคนอาจจะยังมองไม่เห็นภาพว่า Mindset หรือ กรอบความคิด แบบนี้จะช่วยให้การทำงานดีขึ้นได้อย่างไร ทาง Plusitives จึงขออธิบายด้วยการยกสถานการณ์ตัวอย่างที่เข้าใจง่ายดังต่อไปนี้
- เมื่อโปรเจ็กต์ที่ทำร่วมกับเพื่อนร่วมทีมมีปัญหา คนที่มีความคิดแบบ Growth Mindsetจะมีความคิดว่า เราไม่ควรโทษเพื่อนร่วมทีม เพราะความผิดพลาดสามารถเกิดขึ้นได้ แต่จะเรียนรู้จากความผิดพลาดและช่วยหาวิธีแก้ไขปัญหานั้นๆ ซึ่งจะช่วยสร้างบรรยากาศและสังคมการทำงานที่เป็นมิตรได้เป็นอย่างดี

- เมื่อโปรเจ็กต์ของทีมอื่นๆ ในแผนกประสบความสำเร็จและได้รับคำชมจากผู้บริหาร คนที่มี Growth Mindsetจะไม่ได้มองว่าความสำเร็จของผู้อื่นเป็นสิ่งที่น่าอิจฉา แต่จะนำเอาความสำเร็จนั้นมาเป็นแรงบันดาลใจในการทำงาน รวมถึงลองศึกษาดูว่าคนที่เขาทำสำเร็จนั้น มีวิธีการอย่างไร เพื่อนำไปปรับปรุงการทำงานของตนเอง

- เมื่อมีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งและหน้าที่ภายในแผนก คนที่มี Growth Mindset จะเป็นคนที่สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนี้ได้ดี เพราะมีความพร้อมในการปรับเปลี่ยนและเชื่อมั่นว่าตนเองจะสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เพื่อทำหน้าที่ของตนเองได้อย่างเต็มที่นั่นเอง

เคล็ดลับพัฒนาตนเองด้วยการฝึกคิดแบบ Growth Mindset
หลังจากที่เราเรียนรู้ประโยชน์ของการมี Growth Mindsetมามากพอสมควรแล้ว ตอนนี้ก็ถึงเวลาที่เราจะมาเริ่มต้นพัฒนาตนเองไปพร้อมๆ กัน โดยวิธีที่นำเสนอนั้น ไม่ยากเกินไปที่จะทำตาม เพียงแค่เราต้องลงมือทำทันที 

1). เปลี่ยนความคิด เปลี่ยนมุมมอง
ขั้นตอนแรกของการฝึกคิดแบบ Growth Mindset คือ การเปลี่ยนความคิดและมุมมองที่มีต่อสิ่งต่างๆ จากที่เราเคยคิดว่า “มีอะไรผิดพลาดเกิดขึ้นหรือไม่” ให้เปลี่ยนเป็น “มีสิ่งดีๆ เกิดขึ้นหรือไม่” โดยแทนที่จะมองเห็นแค่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ให้มองไปที่เส้นทางระหว่างนั้นว่าเราได้เรียนรู้อะไรบ้าง นี่เป็นเคล็ดลับที่แนะนำโดย Amanda Morin ที่ปรึกษาด้านการศึกษาและความหลากหลายทางระบบประสาท

2). ออกจาก Comfort Zone
การก้าวออกจาก Comfort Zone ของตนเองนั้น ในครั้งแรกอาจจะดูเป็นเรื่องที่ยาก และไม่อยากทำ ในความเป็นจริงทุกคนสามารถทำได้ จริงอยู่การออกจาก Comfort zone อาจเป็นเรื่องยากในตอนแรก แต่ก็ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้ เพราะฉะนั้นเวลาที่คุณเจอความท้าทายใหม่ ๆ ให้คิดว่า “ฉันทำได้” เสมอ

3). ให้รางวัลกับความทุ่มเทและความพยายาม
ส่วนใหญ่แล้วเรามักจะฉลองให้กับความสำเร็จ แต่ถ้าคุณต้องการพัฒนาตนเองให้มีแนวความคิดแบบ Growth Mindset เราควรโฟกัสไปที่การให้รางวัลกับความพยายามของตนเองมากกว่า อ้างอิงจากผลการศึกษาของDr. Carol Dweck ที่แสดงให้เห็นว่าการให้รางวัลกับความทุ่มเทช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนรู้และการทำงานได้ดี

4).รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ
ปัจจุบันองค์กรต่างๆ มักจะมีรูปแบบการทำงานเป็นทีม ดังนั้น เวลาทำงานของตนเองเสร็จเรียบร้อย ให้ลองถามความเห็นและข้อเสนอแนะของเพื่อมร่วมทีม เพื่อที่จะได้ปรับปรุงผลงานของตนเองให้ดีขึ้นในครั้งหน้า นับว่าเป็นการสร้างแรงจูงใจในการทำงานไปพร้อมๆ กับการพัฒนาตนเองให้มี Growth Mindsetในคราวเดียว

จะเห็นว่าการเริ่มต้นพัฒนาตนเองให้มีแนวความคิดแบบ Growth Mindsetไม่ใช่เรื่องที่ยากเลย ไม่ว่าจะเป็นพนักงานหรือผู้บริหารก็สามารถเปลี่ยนแปลงตนเองให้มี Soft Skillsแบบนี้ได้ทั้งนั้น ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองแล้ว ยังช่วยให้องค์กรของคุณเดินทางไปสู่เป้าหมายได้อย่างแน่นอน

 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก
https://www.understood.org/en/articles/growth-mindset
https://hbr.org/2016/01/what-having-a-growth-mindset-actually-means
https://www.mindsethealth.com/matter/growth-vs-fixed-mindset
https://blog.innerdrive.co.uk/benefits-of-growth-mindset-explained
https://scratchgarden.com/blog/growth-mindset-social-emotional-learning/
https://positivemiracle.com/advantages-disadvantages-growth-mindset/
https://www.developgoodhabits.com/benefits-growth-mindset/

Powered by MakeWebEasy.com
This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy